UV คืออะไร ?
รังสี UV หรือ รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) (ชื่อภาษาไทยว่า "รังสีเหนือม่วง") เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ และมีค่าความถี่อยู่ในช่วงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นแสงสีฟ้าในห้องที่เปิดไฟจากหลอด UV ก็เนื่องจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากหลอดไฟ UV ส่องไปกระทบวัตถุที่มีความสามารถในการเรืองแสง UV โดยที่พลังงานบางส่วนของ UV ถูกวัตถุนั้นดูดกลืนไป และมีการสะท้อนกลับคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าระดับ UV ออกมา ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ในช่วงที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ ทำให้เรามองเห็นเป็นโทนสีฟ้าหรือสีม่วง
UV-C 254nm และ UV-C 222nm
ต่างกันอย่างไร?
หลายท่านอาจจะมีความสงสัยว่า UV-C 254nm และ UV-C 222nm ต่างกันอย่างไร เรามาทำความรู้จัก UV-C 254nmกัน มีหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นว่า การใช้รังสี Ultraviolet-C (UV-C) ที่มี spectrum 250-270 nm สามารถกําจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่มีการแพร่กระจายในอากาศได้และมีการนํารังสี Ultraviolet-C มาใช้ในการกําจัดเชื้อ ภายในห้องตรวจ, ห้องทําหัตถการ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ โดย spectrum 254-nm เป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถผลิตได้ง่ายจาก UV lamp ชนิดปรอทและมีค่าใกล้เคียงกับช่วงที่ให้ประสิทธิภาพการกําจัดเชื้อสูงสุดโดยระยะเวลาที่แนะนําให้ใช้ UV-C ใน การกําจัดเชื้อ อย่างน้อย 30 นาทีอย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังคือในขณะที่ทําการกําจัดเชื้อจะต้องไม่มีบุคลากรอยู่ภายในห้องรวมถึงพักการใช้ห้องหลังการกําจัดเชื้อต่ออีกประมาณ 30 นาที เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง และภาวะต่อกระจกจากการได้รับรังสี UV-C ได้ เพราะ spectrum 254-nm สามารถเจาะทะลุผิวหนังและดวงตาได้
ซึ่งในระยะต่อมาได้มีการนําเอารังสี UV-C ที่มีปริมาณและความยาวคลื่นต่ำลง (222-nm, dose 2 mJ/cm2) ซึ่ง ยังคงประสิทธิภาพการทําลายเชื้อได้ ในขณะที่ไม่สามารถเจาะทะลุผิวหนังและดวงตาได้และไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ผิวหนังและกระจกตาของมนุษย์ ทําให้สามารถใช้ได้ อย่างต่อเนื่อง และ ปลอดภัย
แหล่งอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง "254nm" และ "222nm"
ฆ่าเชื้อด้วย
UVC 222nm
ฆ่าเชื้อด้วย
UVC 254nm
สามารถฆ่าแบคทีเรียและไวรัสได้
ปลอดภัยต่อผิวหนังและดวงตา
สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้ขณะเครื่องเปิดใช้งาน
เปิดใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ป้องกันตลอดการใช้งาน
ตอบโจทย์การใช้งานทุกพื้นที่
โรงพยาบาล
โรงแรม
โรงงานอุตสาหกรรม
สถานศึกษา
สำนักงาน
สนามบิน
ที่พักอาศัย
ห้างสรรพสินค้า
สถานปฏิบัติธรรม